วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นามบัตร

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

































การฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหม
การฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหม มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดกาวไหม สิ่งสกปรกต่าง ๆ สีสันและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่ติดมากับเส้นไหมโดยไม่ทำให้เส้นไหมเสียหาย เส้นไหมที่ได้จะมีความสะอาดหมดจด ปราศจากกลิ่นสาบ มีความอ่อนนุ่ม และความเลื่อมมัน ดูดซับความชื้นและน้ำได้ดีมีความขาวพอเหมาะที่จะนำไปย้อมสีได้
ในการฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหม อาจนำเส้นไหมมาฟอกกำจัดกาวก่อนแล้วนำเส้นไหมที่ผ่านการฟอกกาวมาแล้วนำมาฟอกขาวภายหลัง หรืออาจนำเส้นไหมมาฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวแบบใช้น้ำเดียวไปพร้อมกันเลยก็ได้ ซึ่งเป็นกรรมวิธีซึ่งประยุกต์ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการผลิตของเกษตรกร ซึ่งในที่นี้จะกว่าวเฉพาะวิธีการฟอกกาวและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียว ซึ่งสะดวกต่อการปฏิบัติของเกษตรกรและใช้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าวิธีการอื่น

เริ่มต้นจากการคัดเลือกเส้นไหมเลือกส้นไหมที่ขนาดพอดีไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปเส้นสม่ำเสมอ หลังจากที่ได้เส้นไหมมาแล้วต้องนำเส้นไหมมาแล้วต้องนำเส้นไหมมาฟอกขาว เพราะเส้นไหมที่ได้มาเส้นจะแข็งและไม่มีสีสันสำหรับผ้าไหม 1 ผืนจะใช้ไหม 240 กรัม ( 2 เมตร ) จะเป็นทางยืน 120 กรัม และจะเป็นทางทอ 120 กรัม ดังนั้นเราจะนำเอาเส้นไหมจำนวน 240 กรัม มาผ่านการฟอกขาวเพื่อให้ได้เส้นไหมที่มีความสวยงามและอ่อนนุ่ม เพื่อที่จะได้นำเอาเส้นไหมนั้นมามัดเป็นลายหมี่ ( 120 กรัม ) ต่อไป

วิธีการฟอกกำจัดและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียว
อัตราส่วนของสารในการฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียว
1.
เส้นไหมพันธุ์ไทยและพันธุ์ไทยลูกผสม สีเหลือง” (สำหรับเส้นไหม 1 – 1.3 กิโลกรัม)
-
น้ำสะอาด 30 ลิตร
-
สบู่แท้ 135 – 180 กรัม
-
สบู่เทียม 30 กรัม
-
โซดาแอส 50 กรัม
-
โซเดียมไฮโดรซัลไฟล์ 50 กรัม
2.
เส้นไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ สีขาว” (สำหรับเส้นไหม 1 – 1.3 กิโลกรัม)
-
น้ำสะอาด 30 ลิตร
-
สบู่แท้ 90 กรัม
-
สบู่เทียม 30 กรัม
-
โซดาแอส 25 – 30 กรัม
-
โซเดียมโฮโดรซัลไฟด์ 20 – 25 กรัม
  • วิธีการ
    ใส่น้ำสะอาด 30 ลิตรลงในภาชนะต้มให้ถึงอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ใส่สบู่แท้ที่หั่นเป็นฝอยแล้ว สบู่เทียม และโซเดียม ลงไปคนจนละลาย นำตะแกรงใส่รองกันถังฟอกให้เรียบร้อยน้ำเส้นไหมแบ่งใส่ห่วงฟอกย้อม 3 - 4 ห่วง ทำการจัดและขยายไพไหมแล้วนำลงฟอก กลับเส้นไหมไปมาเป็นช่วง ๆ ประมาณ 30 นาที หรือนานกว่าหากเส้นไหมยังไม่ขาวพอ จากนั้นนำเส้นไหมทั้งชุดขึ้นผึ่งให้เย็นแล้วบิดให้หมาดที่สุด นำไปซักล้างในน้ำเย็น 4 ครั้ง บิดให้หมาดทุกครั้ง จากนั้นนำไปล้างในน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที บิดให้หมาด กระตุกเส้นไหมให้เรียงตัวขนานกันคืนสู่สภาพเดิมผึ่งให้แห้งในที่ร่ม
หมายเหตุ
เส้นไหมพันธุ์ไทย และพันธุ์ไทยลูกผสม ชนิดไหมหนึ่ง (ไหมยอด) และเส้นไหมสอง (ไหมสาวรวม) กำหนดให้ใช้สบู่แท้ (ซันไลน์) จำนวน 135 กรัม สำหรับเส้นไหมสามซึ่งสาวเส้นใยจากรังไหมบริเวณชั้นเปลือกนอกสุด (ไหมลืบ) กำหนดให้ใช้สบู่ 180 กรัม ใช้เวลาต้มฟอก ประมาณ 70 นาที (กำหนดไว้เดิมโดยรวม 60 นาที)
ในกรณีที่มีความประสงค์ที่จะฟอกขาวเส้นไหมซ้ำอีกครั้ง เส้นไหมซึ่งผ่านกรรมวิธีฟอกกำจัดกาวไหม สิ่งสกปรกและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียวและได้ทำการซักล้างในน้ำเย็น 4 ครั้งเรียบร้อยแล้วสามารถนำไปปฏิบัติกรรมวิธีฟอกขาวเส้นไหมในน้ำเดือด
เส้นด้ายไหมพันธุ์พื้นเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นไหมที่ได้รับจากการสาวเส้นใยจากรังไหม บริเวณชั้นเปลือกนอกสุด (ไหมลืบ) ที่ผลิตขึ้นในบางพื้นที่จะเป็นสีเหลืองปนแดงเข้มข้นมากอาจจำเป็นต้องใช้ปริมาณสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์เพิ่มมากขึ้นเป็น 60 กรัม เพื่อความเหมาะสม
โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์จะสลายตัวหรือเสื่อมสภาพได้ง่ายและรวดเร็วที่อุณหภูมิสูงต้องควบคุมอุณหภูมิในถังฟอกให้คงที่ 90 องศาเซลเซียสตลอดเวลาที่ทำการฟอกขาวเส้นไหม






การฟอกย้อมสีไหม
เส้นไหมประกอบขึ้นด้วยโปรตีน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเส้นใยไหมเรียกว่า ไฟโบรอิน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 62.5 – 67.0% และกาวไหม เรียกว่า เซริซิน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 23 – 27.5% นอกจากนั้นคือส่วนประกอบอย่างอื่น ได้แก่ ไขมันน้ำมันแร่ธาตุต่าง ๆ สีที่ปรากฏตามธรรมชาติและน้ำ เป็นต้น
ในการฟอกย้อมสีไหม อันดับแรกที่จะต้องทำก็คือ การฟอกกาวของเส้นไหมเพื่อขจัดกาวและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออก ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงเส้นไหมที่จะนำมาฟอกด้วย เนื่องจากเส้นไหมที่จะนำมาฟอกด้วย เนื่องจากเส้นไหมที่ได้จากไหมพันธุ์ต่าง ๆ จะมีเปอร์เซ็นต์ของกาวที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นระยะเวลาในการต้มฟอกกาวจะแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งจะต้องพิจารณาดูจากเส้นไหมที่ฟอกขาว นอกจากนี้ขนาดเข็ดหรือไจของเส้นไหมที่จะนำมาฟอกย้อมควรจะมีขนาดพอเหมาะคือ โดยประมาณ 100 กรัม/เข็ด หากขนาดของเข็ดเส้นไหมมีขนาดใหญ่จนเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาในการฟอกย้อม คือ ทำให้การฟอกกาวออกจากเส้นไหมไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเส้นไหมที่อยู่ด้านในของเข็ดก็จะมีเปอร์เซ็นต์กาวติดอยู่มากกว่าด้านนอก การกระตุกเส้นไหมเพื่อให้เรียงเส้นก็ทำให้ยาก เส้นไหมอาจพันกันยุ่งเมื่อทำการย้อมสีก็จะทำให้เส้นไหมทั้งเส้นเข็ดย้อมติดสีไม่สม่ำเสมอกันตลอดทั้งผืน ส่งผลกระทบทำให้ผ้าไหมไม่ได้มาตรฐาน

วิธีฟอกไหม สีไหมตามธรรมชาตินั้นจะมีสีเหลืองอ่อน เหลืองแก่ เเละสีจะไม่เสมอกัน ถ้าต้องการจะย้อมไหมเป็นสีต่าง ๆ ต้องฟอกไหมให้ขาวเสียก่อน การฟอกไหมนั้นจะใช้น้ำด่างฟอก น้ำด่างนี้ทำได้โดยใช้ต้นไม้พื้นเมือง เช่น ผักดขม (หรือผักหมในภาษาอีสาน) ก้านกล้วย ใบกล้วย งวงตาล ไม้เพกา (ต้นลิ้นฟ้า) ไม้ขี้เหล็กอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ นำมาเผาให้เผ็นถ่านเถ้า แล้วเอาถ่านเถ้านี้เเช่น้ำเป็น น้ำด่าง เมื่อได้น้ำด่างใสดีแล้วจึงเอาไหมที่จะฟอกไปเเช่ จากนั้นนำไหมไปต้มแล้วล้างด้วยน้ำเย็น จากนั้นผึ่งให้แห้ง ถ้ายังเห็นว่าไหมยังขาวไม่ได้ที่ ก็ให้นำไปเเช่ในน้ำด่างแล้วต้มอีกครั้งหนึ่ง




รูปภาพ - การฟอกและย้อมสีไหม

อุปกรณ์ที่ใช้ในการฟอกย้อมสีไหม
วัสดุอุปกรณ์ในการฟอกย้อมสีไหม ได้แก่
-
ถังฟอกย้อม ซึ่งควรเป็นโลหะเคลือบหรือโลหะที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี และควรมีความลึกพอประมาณให้เส้นไหมสามารถลงฟอกได้อย่างทั่วถึง และควรมีตะแกรงรองก้นถังเพื่อไม่ให้เส้นไหมที่ฟอกย้อมสัมผัสกับก้นภาชนะที่รับความร้อนโดยตรง
-
ห่วงฟอกย้อมเส้นไหม สำหรับแบ่งเส้นไหมเมื่อฟอกย้อม อาจทำด้วยเหล็กเส้นขนาดประมาณ 2 หุน ดัดโค้งเป็นวง หุ้มด้วยสารบางชนิดหนา
-
สารเคมีที่ใช้ในการฟอกย้อม ได้แก่ สบู่แท้ สบู่เทียม โซดาแอส โซเดียมซัลไฟลด์ สีย้อมไหม เกลือแกง กรดน้ำส้มเข้มข้น และผลิตภัณฑ์สำหรับผนึกสีย้อม

                                     การย้อมสีไหม 
สีที่ใช้สนการย้อมไหมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สีธรรมชาติและสีเคมี
สีธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้จากพืชในส่วนของเปลือกไม้ ใบไม้ ลูกไม้ และรากไม้ ซึ่งจะมีกรรมวิธีในการย้อมแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดพืชและส่วนที่นำมาเป็นสีย้อมสีธรรมชาติที่นำมาย้อมเส้นไหม ได้แก่ สีแดงจากครั่ง รากยอ ดอกคำฝอย สีน้ำเงินจากต้นคราม สีเหลืองจากแก่นขนุน ขมิ้นชัน แก่นเข สีดำจากลูกมะเกลือ สีชมพูดจากต้นฟาง สีกากีจากเปลือกและแก่นเพกา สีเขียวจากใบหูกวาง เป็นต้น การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย
สีเคมี เป็นสีที่ที่มีความบริสุทธิ์ของตัวสีมาก สามารถนำสีเหล่านี้มาผสมเพื่อให้ได้สีที่ต้องการ และปรับระดับความเข้มของสีได้ วิธีการย้อมทำได้ง่ายและสะดวก สีที่ย้อมได้จะมีความสดสวยและมีความทนทานของสีดี

                           

·         วิธีการทอผ้า
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง
หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
·         ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ
·         การทอผ้าพื้น
เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
·         การขิด
ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
การจก
เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า ซิ่นตีนจก
·          
·         การทอมัดหมี่
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
·         การทอผ้ายก
เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต


      














กลายมาเป็นผ้าไหมผืนสวย

 




































การฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหม
การฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหม มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดกาวไหม สิ่งสกปรกต่าง ๆ สีสันและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่ติดมากับเส้นไหมโดยไม่ทำให้เส้นไหมเสียหาย เส้นไหมที่ได้จะมีความสะอาดหมดจด ปราศจากกลิ่นสาบ มีความอ่อนนุ่ม และความเลื่อมมัน ดูดซับความชื้นและน้ำได้ดีมีความขาวพอเหมาะที่จะนำไปย้อมสีได้
ในการฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหม อาจนำเส้นไหมมาฟอกกำจัดกาวก่อนแล้วนำเส้นไหมที่ผ่านการฟอกกาวมาแล้วนำมาฟอกขาวภายหลัง หรืออาจนำเส้นไหมมาฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวแบบใช้น้ำเดียวไปพร้อมกันเลยก็ได้ ซึ่งเป็นกรรมวิธีซึ่งประยุกต์ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการผลิตของเกษตรกร ซึ่งในที่นี้จะกว่าวเฉพาะวิธีการฟอกกาวและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียว ซึ่งสะดวกต่อการปฏิบัติของเกษตรกรและใช้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าวิธีการอื่น

เริ่มต้นจากการคัดเลือกเส้นไหมเลือกส้นไหมที่ขนาดพอดีไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปเส้นสม่ำเสมอ หลังจากที่ได้เส้นไหมมาแล้วต้องนำเส้นไหมมาแล้วต้องนำเส้นไหมมาฟอกขาว เพราะเส้นไหมที่ได้มาเส้นจะแข็งและไม่มีสีสันสำหรับผ้าไหม 1 ผืนจะใช้ไหม 240 กรัม ( 2 เมตร ) จะเป็นทางยืน 120 กรัม และจะเป็นทางทอ 120 กรัม ดังนั้นเราจะนำเอาเส้นไหมจำนวน 240 กรัม มาผ่านการฟอกขาวเพื่อให้ได้เส้นไหมที่มีความสวยงามและอ่อนนุ่ม เพื่อที่จะได้นำเอาเส้นไหมนั้นมามัดเป็นลายหมี่ ( 120 กรัม ) ต่อไป

วิธีการฟอกกำจัดและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียว
อัตราส่วนของสารในการฟอกกำจัดกาวและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียว
1.
เส้นไหมพันธุ์ไทยและพันธุ์ไทยลูกผสม สีเหลือง” (สำหรับเส้นไหม 1 – 1.3 กิโลกรัม)
-
น้ำสะอาด 30 ลิตร
-
สบู่แท้ 135 – 180 กรัม
-
สบู่เทียม 30 กรัม
-
โซดาแอส 50 กรัม
-
โซเดียมไฮโดรซัลไฟล์ 50 กรัม
2.
เส้นไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ สีขาว” (สำหรับเส้นไหม 1 – 1.3 กิโลกรัม)
-
น้ำสะอาด 30 ลิตร
-
สบู่แท้ 90 กรัม
-
สบู่เทียม 30 กรัม
-
โซดาแอส 25 – 30 กรัม
-
โซเดียมโฮโดรซัลไฟด์ 20 – 25 กรัม
  • วิธีการ
    ใส่น้ำสะอาด 30 ลิตรลงในภาชนะต้มให้ถึงอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ใส่สบู่แท้ที่หั่นเป็นฝอยแล้ว สบู่เทียม และโซเดียม ลงไปคนจนละลาย นำตะแกรงใส่รองกันถังฟอกให้เรียบร้อยน้ำเส้นไหมแบ่งใส่ห่วงฟอกย้อม 3 - 4 ห่วง ทำการจัดและขยายไพไหมแล้วนำลงฟอก กลับเส้นไหมไปมาเป็นช่วง ๆ ประมาณ 30 นาที หรือนานกว่าหากเส้นไหมยังไม่ขาวพอ จากนั้นนำเส้นไหมทั้งชุดขึ้นผึ่งให้เย็นแล้วบิดให้หมาดที่สุด นำไปซักล้างในน้ำเย็น 4 ครั้ง บิดให้หมาดทุกครั้ง จากนั้นนำไปล้างในน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที บิดให้หมาด กระตุกเส้นไหมให้เรียงตัวขนานกันคืนสู่สภาพเดิมผึ่งให้แห้งในที่ร่ม
หมายเหตุ
เส้นไหมพันธุ์ไทย และพันธุ์ไทยลูกผสม ชนิดไหมหนึ่ง (ไหมยอด) และเส้นไหมสอง (ไหมสาวรวม) กำหนดให้ใช้สบู่แท้ (ซันไลน์) จำนวน 135 กรัม สำหรับเส้นไหมสามซึ่งสาวเส้นใยจากรังไหมบริเวณชั้นเปลือกนอกสุด (ไหมลืบ) กำหนดให้ใช้สบู่ 180 กรัม ใช้เวลาต้มฟอก ประมาณ 70 นาที (กำหนดไว้เดิมโดยรวม 60 นาที)
ในกรณีที่มีความประสงค์ที่จะฟอกขาวเส้นไหมซ้ำอีกครั้ง เส้นไหมซึ่งผ่านกรรมวิธีฟอกกำจัดกาวไหม สิ่งสกปรกและฟอกขาวเส้นไหมแบบใช้น้ำเดียวและได้ทำการซักล้างในน้ำเย็น 4 ครั้งเรียบร้อยแล้วสามารถนำไปปฏิบัติกรรมวิธีฟอกขาวเส้นไหมในน้ำเดือด
เส้นด้ายไหมพันธุ์พื้นเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นไหมที่ได้รับจากการสาวเส้นใยจากรังไหม บริเวณชั้นเปลือกนอกสุด (ไหมลืบ) ที่ผลิตขึ้นในบางพื้นที่จะเป็นสีเหลืองปนแดงเข้มข้นมากอาจจำเป็นต้องใช้ปริมาณสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์เพิ่มมากขึ้นเป็น 60 กรัม เพื่อความเหมาะสม
โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์จะสลายตัวหรือเสื่อมสภาพได้ง่ายและรวดเร็วที่อุณหภูมิสูงต้องควบคุมอุณหภูมิในถังฟอกให้คงที่ 90 องศาเซลเซียสตลอดเวลาที่ทำการฟอกขาวเส้นไหม






การฟอกย้อมสีไหม
เส้นไหมประกอบขึ้นด้วยโปรตีน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเส้นใยไหมเรียกว่า ไฟโบรอิน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 62.5 – 67.0% และกาวไหม เรียกว่า เซริซิน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 23 – 27.5% นอกจากนั้นคือส่วนประกอบอย่างอื่น ได้แก่ ไขมันน้ำมันแร่ธาตุต่าง ๆ สีที่ปรากฏตามธรรมชาติและน้ำ เป็นต้น
ในการฟอกย้อมสีไหม อันดับแรกที่จะต้องทำก็คือ การฟอกกาวของเส้นไหมเพื่อขจัดกาวและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออก ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงเส้นไหมที่จะนำมาฟอกด้วย เนื่องจากเส้นไหมที่จะนำมาฟอกด้วย เนื่องจากเส้นไหมที่ได้จากไหมพันธุ์ต่าง ๆ จะมีเปอร์เซ็นต์ของกาวที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นระยะเวลาในการต้มฟอกกาวจะแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งจะต้องพิจารณาดูจากเส้นไหมที่ฟอกขาว นอกจากนี้ขนาดเข็ดหรือไจของเส้นไหมที่จะนำมาฟอกย้อมควรจะมีขนาดพอเหมาะคือ โดยประมาณ 100 กรัม/เข็ด หากขนาดของเข็ดเส้นไหมมีขนาดใหญ่จนเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาในการฟอกย้อม คือ ทำให้การฟอกกาวออกจากเส้นไหมไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเส้นไหมที่อยู่ด้านในของเข็ดก็จะมีเปอร์เซ็นต์กาวติดอยู่มากกว่าด้านนอก การกระตุกเส้นไหมเพื่อให้เรียงเส้นก็ทำให้ยาก เส้นไหมอาจพันกันยุ่งเมื่อทำการย้อมสีก็จะทำให้เส้นไหมทั้งเส้นเข็ดย้อมติดสีไม่สม่ำเสมอกันตลอดทั้งผืน ส่งผลกระทบทำให้ผ้าไหมไม่ได้มาตรฐาน

วิธีฟอกไหม สีไหมตามธรรมชาตินั้นจะมีสีเหลืองอ่อน เหลืองแก่ เเละสีจะไม่เสมอกัน ถ้าต้องการจะย้อมไหมเป็นสีต่าง ๆ ต้องฟอกไหมให้ขาวเสียก่อน การฟอกไหมนั้นจะใช้น้ำด่างฟอก น้ำด่างนี้ทำได้โดยใช้ต้นไม้พื้นเมือง เช่น ผักดขม (หรือผักหมในภาษาอีสาน) ก้านกล้วย ใบกล้วย งวงตาล ไม้เพกา (ต้นลิ้นฟ้า) ไม้ขี้เหล็กอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ นำมาเผาให้เผ็นถ่านเถ้า แล้วเอาถ่านเถ้านี้เเช่น้ำเป็น น้ำด่าง เมื่อได้น้ำด่างใสดีแล้วจึงเอาไหมที่จะฟอกไปเเช่ จากนั้นนำไหมไปต้มแล้วล้างด้วยน้ำเย็น จากนั้นผึ่งให้แห้ง ถ้ายังเห็นว่าไหมยังขาวไม่ได้ที่ ก็ให้นำไปเเช่ในน้ำด่างแล้วต้มอีกครั้งหนึ่ง




รูปภาพ - การฟอกและย้อมสีไหม

อุปกรณ์ที่ใช้ในการฟอกย้อมสีไหม
วัสดุอุปกรณ์ในการฟอกย้อมสีไหม ได้แก่
-
ถังฟอกย้อม ซึ่งควรเป็นโลหะเคลือบหรือโลหะที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี และควรมีความลึกพอประมาณให้เส้นไหมสามารถลงฟอกได้อย่างทั่วถึง และควรมีตะแกรงรองก้นถังเพื่อไม่ให้เส้นไหมที่ฟอกย้อมสัมผัสกับก้นภาชนะที่รับความร้อนโดยตรง
-
ห่วงฟอกย้อมเส้นไหม สำหรับแบ่งเส้นไหมเมื่อฟอกย้อม อาจทำด้วยเหล็กเส้นขนาดประมาณ 2 หุน ดัดโค้งเป็นวง หุ้มด้วยสารบางชนิดหนา
-
สารเคมีที่ใช้ในการฟอกย้อม ได้แก่ สบู่แท้ สบู่เทียม โซดาแอส โซเดียมซัลไฟลด์ สีย้อมไหม เกลือแกง กรดน้ำส้มเข้มข้น และผลิตภัณฑ์สำหรับผนึกสีย้อม

                                     การย้อมสีไหม 
สีที่ใช้สนการย้อมไหมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สีธรรมชาติและสีเคมี
สีธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้จากพืชในส่วนของเปลือกไม้ ใบไม้ ลูกไม้ และรากไม้ ซึ่งจะมีกรรมวิธีในการย้อมแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดพืชและส่วนที่นำมาเป็นสีย้อมสีธรรมชาติที่นำมาย้อมเส้นไหม ได้แก่ สีแดงจากครั่ง รากยอ ดอกคำฝอย สีน้ำเงินจากต้นคราม สีเหลืองจากแก่นขนุน ขมิ้นชัน แก่นเข สีดำจากลูกมะเกลือ สีชมพูดจากต้นฟาง สีกากีจากเปลือกและแก่นเพกา สีเขียวจากใบหูกวาง เป็นต้น การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย
สีเคมี เป็นสีที่ที่มีความบริสุทธิ์ของตัวสีมาก สามารถนำสีเหล่านี้มาผสมเพื่อให้ได้สีที่ต้องการ และปรับระดับความเข้มของสีได้ วิธีการย้อมทำได้ง่ายและสะดวก สีที่ย้อมได้จะมีความสดสวยและมีความทนทานของสีดี

                           

·         วิธีการทอผ้า
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง
หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
·         ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ
·         การทอผ้าพื้น
เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
·         การขิด
ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
การจก
เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า ซิ่นตีนจก
·          
·         การทอมัดหมี่
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
·         การทอผ้ายก
เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต


      














กลายมาเป็นผ้าไหมผืนสวย







ผ้าไหมของดีเมืองสุรินทร์

Posted by admin | Posted in ศิลปะวัฒนธรรม | Posted on 20-05-2009

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่ง หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ
จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียกโซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย 
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล 
2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้ 4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ 
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่าพอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก” 

แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์ มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท







นำมาประยุกต์ที่สวยงาม
                                             

                                                                            

ผ้าไหมของดีเมืองสุรินทร์

Posted by admin | Posted in ศิลปะวัฒนธรรม | Posted on 20-05-2009

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่ง หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ
จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียกโซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย 
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล 
2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้ 4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ 
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่าพอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก” 

แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์ มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท






นำมาประยุกต์ที่สวยงาม